‘วิโรจน์’ เผย งบ 7 พันล้าน ของผู้ว่าคนก่อนมี โครงการแก้น้ำท่วมเพียบ ปัญหาก็เพียบ

‘วิโรจน์’ เผย งบ 7 พันล้าน ของผู้ว่าคนก่อนมี โครงการแก้น้ำท่วมเพียบ ปัญหาก็เพียบ

วิโรจน์ เผย งบ 7 พันล้าน ของผู้ว่าคนก่อนมี โครงการแก้น้ำท่วมเพียบ ปัญหาก็เพียบ แนะสิ่งที่สำคัญสุดคือเตรียมพร้อมรับ น้ำท่วม นาย วิโรจน์ ลักขณาอดิศร อดีตผู้สมัครชิงเก้าอี้ว่าผู้ว่ากรุงเทพ จากพรรคก้าวไกล ออกมาโพสต์ข้อความเฟซบุ๊ก ว่าด้วยสถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพ ซึ่งเป็นอิทธิพลจากฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา โดยนายวิโรจน์ได้ทำการเปิดโครงการของ ผู้ว่าอัศวิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพคนก่อนที่ได้รับงบประมาณจากสำนักระบายน้ำ ปี 66 จำนวน 7,704.48 ล้านบาท

ข้อความเฟซบุ๊กระบุว่า “หนี่งในปัญหาที่สำคัญที่สุดของกรุงเทพในช่วงเวลานี้ 

คือการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับปัญหาน้ำท่วม เนื่องจากปีนี้สภาพอากาศโลกมีความแปรปรวนเป็นพิเศษ และปัญหาน้ำท่วมแบบที่เกิดในวันนี้อาจไม่ใช่ครั้งสุดท้ายของปีนี้ เพราะอย่าลืมว่าเราเพิ่งผ่านวัน “เข้าพรรษา” มาแค่ไม่กี่วัน

หัวใจของปัญหาน้ำท่วมที่ต้องเร่งแก้ไข นอกจากเส้นเลือดใหญ่ หรือเส้นเลือดฝอยแล้ว สิ่งที่สำคัญที่เปรียบประหนึ่งกระดูกสันหลัง ก็คือ การจัดสรรงบประมาณของ กทม. ว่าถูกจัดสรร และนำไปใช้ได้อย่างตรงจุดหรือไม่

พรรคก้าวไกลมีข้อสังเกตงบประมาณสำนักระบายน้ำ ปี 66 จำนวน 7,704.48 ล้านบาท ที่ผู้ว่าคนก่อนทำทิ้งไว้ ซึ่งเมื่อพิจารณาดูแล้วพบได้ว่า

1. มีโครงการการก่อสร้างจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นโครงการอุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำ โครงการสร้างพื้นรับน้ำ หรือโครงการสร้างอาคารรับน้ำสำหรับการระบาย ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ตามแผนที่ตั้งไว้ ทำให้เกิดการก่อสร้างล่าช้า ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนอย่างมาก หลายโครงการที่เลยกำหนด ผู้รับเหมาก็ทิ้งงาน งบประมาณก็ขาดแคลนไม่ต่อเนื่อง ทำให้โครงการถูกลากยาว สร้างไม่จบไม่สิ้น

2. มีการตั้งโครงการก่อสร้างยักษ์ใหญ่จำนวนมาก แต่ไม่สามารถหาผู้รับจ้างได้ แต่ก็ตั้งงบประมาณในส่วนนี้คาเอาไว้เสมอ เหมือนกับจะล็อคสเป็ครอผู้รับเหมารายใดรายหนึ่งเป็นการเฉพาะ ทำให้แผนการระบายน้ำไม่ถูกดำเนินการให้แล้วเสร็จ ปัญหาเดิมก็ค้างอยู่อย่างนั้น

3. โครงการก่อสร้างของสำนักระบายน้ำคิดแต่การทำการใหญ่ที่มีผลกระทบสูง แต่ไม่มีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่อย่างการทำประชาพิจารณ์

4. สำนักระบายน้ำเสียเงินจำนวนมากไปกับการจ้างที่ปรึกษาในการก่อสร้าง แถมที่ผ่านมาการตรวจรับงาน ก็มีปัญหางานด้อยคุณภาพหลุดออกมาเต็มไปหมด แต่ที่ปรึกษารายเดิมๆ ก็ยังถูกจ้างอยู่วันยังค่ำ ไม่เคยคิดจะเปลี่ยน

แน่นอนครับว่างบประมาณเหล่านี้จะต้องถูกตัด และปรับปรุงเพื่อให้เอาไปแก้ปัญหา “เส้นเลือดฝอย” ได้อย่างตรงจุด

ในขณะที่ผู้ว่าชัชชาติลงไปลุยสั่งการปัญหาน้ำท่วมที่ศูนย์บัญชาการต่างๆ ส.ก. ก้าวไกลทุกคน ต่างก็ลงไปสำรวจความเดือดร้อนของประชาชน และเร่งประสานการระบายน้ำในทุกเขตเช่นกัน และในวันพรุ่งนี้ ส.ก. ก้าวไกลทั้ง 13 เขต จะเข้าไปประสานงานกับสำนักงานเขตเพิ่มเติม เพื่อวางแผน และซักซ้อมขั้นตอนการปฏิบัติงานในการระบายน้ำให้ทันต่อเหตุการณ์ และฉับไวมากขึ้น

ขณะนี้ กทม. กำลังพิจารณาข้อบัญญัติงบประมาณ 66 ส.ก. ก้าวไกลทุกคน เราทำการบ้านกับงบที่เกี่ยวข้องกับงานระบายทั้งในส่วนของเขต และสำนักการระบายน้ำอย่างเต็มที่ เพื่อให้มั่นใจว่า กทม. จะมีงบประมาณที่เพียงพอ สำหรับการแก้ปัญหาน้ำท่วมของกรุงเทพ ให้ทุเลาลงให้ได้

ดู ถ่ายทอดสดอภิปรายไม่ไว้วางใจ วันที่ 21 ก.ค. 65 เริ่ม 8.30 น.

ดูถ่ายทอดสดอภิปรายไม่ไว้วางใจ 65 โดยตั้งแต่วันที่ 19-22 ก.ค. ช่วงเวลา 8.30 น. จะมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซักฟอกอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม

และรัฐมนตรีอื่นๆรวม 11 ชีวิต ได้แก่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี

พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง, นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

ขณะที่ผลสำรวจขอผลดุสิตโพลระบุถึงการ อภิปรายไม่ไว้วางใจ 65 ว่า รัฐมนตรีที่ควรจะถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ อันดับ 1 คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม รองลงมา คือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี อันดับ 3 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข พร้อมคิดว่าการอภิปรายที่กำลังจะมีขึ้นจะมีผลให้เกิดการยุบสภา

ส่วนประเด็นที่อยากให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้นเป็นเรื่องของผลงานการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ, สินค้าแพง, ทุจริต คอรัปชั่น, การแก้กฎหมายเพื่อประโยชน์ของประชาชน และ การใช้งบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง อนุมัติโครงการต่างๆ ตามลำดับ

Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่า